วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพประเพณีและศิลปวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2

อะไรคือปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จที่แตกต่าง?

       มืออาชีพและมือสมัครเล่นที่จริงจังเท่านั้นที่ขยันออกแรงเพียรหาคำตอบข้อนี้ให้กับตัวเอง คำตอบกว้างๆ พอเป็นแนวทางให้นักถ่ายภาพทั่วไปได้นำไปขบตีหรือจำกัดวงความคิดให้แคบลงตามแนวทางการถ่ายภาพ หรือสไตล์การทำงานของตัวเองคือ
ความหาข้อมูลให้มากที่สุด

       ข้อมูลที่ว่าคือความเกี่ยวพันทั้งหมดต่อประเพณีหรือศิลปวัฒนธรรมที่ตั้งใจไปถ่าย การมีข้อมูลที่รอบด้านและรู้จักหยิบฉวยข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ มีส่วนอย่างมากที่จะช่วงป้องกัน “ความผิดผลาด” ที่มักเกิดขึ้นในภาพสนาม ข้อมูลเรื่องพิธีการ รูปแบบการจัดงาน กำหนดการ ทิศทาง ตำแหน่งที่เหมาะสม และแม้กระทั่งความผิดผลากที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาประมวลรวมกันจะช่วยให้นักถ่ายภาพมองเห็นภาพกว้างของพิธีการหรือกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นว่ามีลักษณะอย่างไร ทั้งยังสามารถนำข้อมูลมาใช้วางแผนการถ่ายภาพ ในภาพสนามได้เป็นอย่างดี



       นักถ่ายภาพที่ไม่หาข้อมูลหรือไม่มีการวางแผนใดๆ เลย คงไม่ใช่เรื่องผิด-ไม่ผิด เพียงแต่สิ่งที่พวกเขาต้องยอมรับคือ ลักษณะของกิจกรรมหรือพิธีการประเภทนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบปี ดังนั้นหากต้องเผชิญกับความผิดผลาดในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่คาดเดาสถานะการณ์ได้และที่คาดไม่ถึงก็คือต้องทำใจยอมรับ หรือไม่ก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ จนจบเกม

กำหนดเป้าหมายให้ตัวเอง

       แม้คุณเป็นเพียงนักถ่ายภาพสมัครเล่นที่หวังจะบันทึกภาพเหตุการณ์งานประเพณีหรือกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นไวเพียงเพื่อความสุขส่วนตัวก็ควรจะตั้งเป้าหมายไว้เพราะ “เป้าหมายเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทาง” มันทำให้เรารู้ว่าควรจะเดินไปในทิศทางใด และแม้ต้องเจอกับอุปสรรคในภาพสนามแบบที่ไม่ได้คาดคิดจนต้องออกนอกลู่นอกทางบ้าง แต่อย่างน้อยมันก็ช่วยให้เรา “ไม่หลงทิศ” มีโอกาสที่จะกลับมาเดินบนเส้นทางเดิมเพื่อมุ่งเป้าหมายได้อีกครั้ง ไม่ใช่พอหลงกิจกรรมหรือคลาดกับพิธีการใหญ่ก็เลยพาลกดถ่ายอะไรต่อมิอะไรมาไม่รู้มั่วไปหมด กลับมาถึงบ้านเป็นอาทิตย์แล้วยังไล่เรียงเหตุการณ์ไม่ถูกว่าช่วงไหนเป็นช่วงไหน เมื่อถึงเวลานั้น ทุกคนจะได้ยินคำถามจากภายในใจของตัวเองคล้ายๆ กันว่า ถ่ายมาทำไม?

       “เป้าหมายที่ดีอาจไม่ใช้ชัยชนะหรือความสำเร็จเสมอไป บางครั้งประสบการณ์ที่พบเข้าโดยบังเอิญระหว่างทางอาจกลายเป็นความทรงจำที่น่าประทับใจมากกว่า”

เตรียมตัวให้พร้อม

       เมื่อข้อมูลครบถ้วน เป้าหมายชัดเจน สิ่งที่เหลือคงเป็นเรื่องของการเตรียมอุปกรณ์ลงกระเป๋ากล้องและเตรียมใจให้พร้อม อุปกรณ์ที่พร้อมไม่ได้หมายความว่านักถ่ายภาพที่สนใจการถ่ายภาพประเภทนี้จะต้องมีเลนส์ครบทุกช่วงตั้งแต่ซูปเปอไวด์ไปจนถึงซุปเปอร์เทเลโฟโต้ หรือพร้อมสรรพไปด้วยอุปกรณ์เสริมชนิดที่แบกชนไปแทบไม่หวาดไม่ไหว ข้อมูลและเป้าหมายที่ผ่านการสังเคราะห์มาดีแล้วจะเป็นสิ่งที่บอกคุณได้ว่าจะต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรไปบ้างสำหรับการถ่ายภาพประเพณีหรืองานสืบสานวัฒนธรรมในครั้งนั้น คงไม่จำเป็นต้องแบกเลนส์เทลโฟโต้ขนาดใหญ่กว่ากระบอกข้าวหลามหนองมนไปถ่ายงานวันไหลพัทยา(เทศการสงกรานต์ จังหวัดชลบุรี) และคงไม่จำเป็นเช่นกันที่จะเหน็บเลนส์มาโครไปเก็บภาพพิธีเผาเทียนเล่นไฟ(ประเพณีลอยกระทง จังหวัดสุโขทัย) นอกเสียจากคุณอย่างได้ภาพพิเศษจากจินตนาการอันเป็นส่วนตัวจริงๆ



       การขนอุปกรณ์ไปเต็มพิกัดไม่ได้บ่งบอกถึงความพร้อมของนักถ่ายภาพเสมอไป เพราะอุปกรณ์ที่เกินความจำเป็นจะกลายเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงสำหรับการทำงานในภาพสนามที่ต้องการความคล้องตัวสูง ความพร้อมของอุปกรณ์หมายถึง การครอบคลุมของระยะทางยาวโฟกัสสำหรับมุมภาพในจินตนาการของนักถ่ายภาพ การครอบคลุมของอุปกรณ์สำหรับเทคนิคพิเศษในการบันทึกภาพ การครอบคลุมของอุปกรณ์หากเกิดการชำรุด ขัดข้อง หรือสูญหายของอุปกรณ์ชุดหลัก


       ความพร้อมของใจ อาจเป็นสิ่งที่ไม่ใคร่จำเป็นต้องเตรียมการอะไรมากนัก เพราะเมื่อมาถึงขั้นนี้เชื่อว่านักถ่ายภาพทั้งหลายคงแทบนับวันรอที่จะกระโจนหัวใจออกไปพร้อมๆ กับอุปกรณ์ถ่ายภาพของตัวเองอยู่แล้ว ความพร้องของจิตใจในแง่มุมสำหรับการแนะนำนี้จึงอาจมีเพียงบอกกล่าวให้ “เผื่อใจ” และ “เตรียมใจ” ไว้สำหรับความผิดหวัง ด้วยเพราะการทำงานกลางแจ้งในสภาวะที่ผู้เป็นนักถ่ายภาพไม่สามารถหรือไม่มีสิทธิ์ที่จะควบคุมปัจจัยหรือตัวแปร อันอาจเป็นเหตุของความผิดผลาดได้นั้น อะไรๆ ก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นได้ทุกวินาที ไม่ว่าจะเป็นสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน อุบัติเหตุ กำหนดการที่คลาดเคลื่อน การขัดข้องของอุปกรณ์ ตลอดจนสถานการณ์ที่สุดจะคาดเดาต่างๆ อีกมากมาย สิ่งหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความกระวนกระวายใจและอาการสูญเสียความมั่นใจของนักถ่ายภาพได้เป็นอย่างดีคือ “สติ”  สติตั้งรับอยู่ภายในใจที่เตรียมพร้อมมาตั้งแต่แรก อุบัติเหตุหรือความผิดพลาดอาจเป็นสิ่งสุดวิสัยที่จะคาดเดาได้ แต่สติและจิตใจที่เตรียมพร้อมหาหนทางแก้ไขปัญหาอยู่เสมอเป็นสิ่งที่สามารถเตรียมการได้

Credits : ร้าน กระเป๋ากล้อง

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพประเพณีและศิลปวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 1

การถ่ายภาพประเพณีและศิลปวัฒนธรรมไทย

       พจนานุกราไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ บัญญัติความหมายของ “ประเพณี” ไว้ว่า “สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี” และพจนานุกรมฉบับเดียวกันยังได้สำแดงความหมายของ “วัฒนธรรม” ไว้ด้วยเช่นกันว่า “สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา

       นอกจากนี้สารานุกรมเสรีอย่างวิกีพีเดียยังได้ให้นิยามของคำว่าวัฒนธรรมในมุมมองที่แต่งต่างออกไป ทว่ากลับช่วยเสริมขยายความเข้าใจในเชิงบริบทของคำดังกล่าวได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น ดังนี้ “วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึงรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นประพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกตน”



       ดังนั้นหากนิยามความในแง่ของ “การถ่ายภาพประเพณีและศิลปวัฒนธรรมไทย” จึงอาจหมายเอาได้ว่า “การบันทึกเรื่องราวอันเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณีอันดีงามของไทย ทั้งยังหมายรวมถึงภาพถ่ายที่สะท้อนความเจริญงอกงามของหมู่คณะหรือสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมโดยผ่านวิถีซึ่งสืบทอดติดต่อกันมา รูปแบบของวัฒนธรรมไทยสามารถแสดงออกได้หลากหลายวิธี ทั้งการสืบผ่านในเชิงชั้นทางวรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การดนตรี การละคร และภาพยนตร์ เป็นต้น”

       เป็นเรื่องที่เข้าใจโดยถ้วนทั่วว่าประเพณีและวัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่ล้วนผูกติดอยู่กับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธอันเป็นศาสนาของคนส่วนใหญ่ในชาติอย่างแนบแน่น งานประเพณีและงานสืบสารวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจวบกระทั้งปัจจุบันจึงจำเป็นต้องมีรูปแบบของพิธีกรรมทางศาสนาไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเข้ามามีบทบาทอยู่เสมอ นั่นจึงทำให้วัฒนธรรมและประเพณีไทยในสายตาชาวต่างชาติมีความเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้คนในสังคม


       การบันทึกภาพแนวประเพณีและศิลปะวัฒนธรรมไทยจึงหาใช่เป็นเพียงแค่การบันทึกเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้น แม้ผู้บันทึกจะเป็นเพียงนักถ่ายภาพระดับสมัครเล่นหรือนักท่องเที่ยวทั่วไปก็ตาม เพราะหากมองไกลทอดสายตายาวไปสู่อนาคต ภาพๆ หนึ่งที่บางคนเคยคิดว่าเป็นเพียงแค่ภาพธรรมดาอาจกลายมาเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่สามารถหยิบยกขึ้นมาอธิบายปรากฏการณ์ วิธีชีวิต ตลอดจนกระทั่งวัฒนธรรมตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงความเป็นชนชาติ ดังที่ภาพถ่ายธรรมดาๆ จำนวนมากในอดีตได้เปลี่ยนสถานะกลับมาแสดงบทบาทให้เป็นที่ประจักษ์อยู่ตามหอประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทั้งในและนอกประเทศ



นอกจากความสวยงาม.. ภาพถ่ายแนวประเพณีและศิลปวัฒนธรรมไทยที่ดีควรตอบโจทย์เรื่องอะไรต่อผู้ชม?

       คำตอบง่ายๆ คล้ายกับการถ่ายภาพเชิงวิถีอื่นๆ คือ ภาพนั้นต้องแสดงให้ผู้ชมเข้าใจได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร

       แม้จะสามารถท่องจำให้ขึ้นใจได้ไม่ยาก ทว่าคำถาม ๕ ข้อนี้กลับเป็นโจทย์ที่ไม่ใช้ว่าใครจะตอบอกกมาได้ง่ายๆ เนื่องเพราะวิถีของกิจกรรมแนวประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ นั้นจำเป็นต้องเคลื่อนไหลไปตามกำหนดการอยู่ตลอดเวลาจวบกระทั่งสิ้นสุดพิธีกรรม ดังนั้นจังหวะที่จะแง้มอ้าเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมเป็นช่างภาพได้ครุ่นคิดและเพ่งหามุมภาพดีๆ ที่สามารถตอบคำถามได้ครบทั้ง ๕ ข้อจึงเป็นเรื่องยาก

credits : ร้าน กระเป๋ากล้อง

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพ CONCERT ตอนที่ 7

ถ่ายต่อเนื่องเพื่อจับจังหวะที่ดีที่สุด

       ช่วงที่ศิลปินเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเพลงอย่างเมามันจะเป็นช่วงที่โฟกัสภาพได้ยาก และไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าขณะที่ชัตเตอร์ทำงานจะได้ภาพในจังหวะดีหรือไม่ บางครั้งได้ภาพขณะหลับตา บางทีมีไมค์บังหน้า หรืออาจเป็นตอนที่หน้าตาเหยเก แนะนำให้ใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบต่อเนื่องร่วมกับระบบบันทึกภาพต่อเนื่องความเร็วสูงเพื่อเก็บภาพในช่วงจังหวะดังกล่าว เมื่อวางตำแหน่งภาพได้และตัวศิลปินอยู่ในกรอบโฟกัสให้กดชัตเตอร์ค้างเพื่อบันทึกภาพต่อเนื่องเป็นชุดในช่วงจังหวะนั้นๆ แต่ถ้าหากมีการเต้นหรือวิ่งอย่างรวดเร็วก็จะกดชัดเตอร์ค้างนอนหน่อยให้ได้ภาพหลายๆ แอ็คชั่นเพื่อนำมาคัดเลือกภายหลัง วิธีนี้ทำให้เห็นว่าแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เพียงเสี่ยววินาที ตำแหน่งต่างๆในภาพเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บางครั้งภาพที่ดูดีอยู่แล้วอาจมีภาพที่ดีกว่าเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในภาพ



ย้อนแสงไม่เรื่องต้องห้ามแต่น่าลอง

      ภาพถ่ายย้อนแสงช่วยเสริมสร้างอารมณ์ให้กับภาพได้ดีไม่เว้นแม้กับการถ่ายคอนเสิร์ตแสงแฟลร์ที่ฟุ้งเป็นดวงอาจเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจสำหรับบางภาพ แต่หากคุณกำหนดให้มันอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมลงตัว บางทีมันก็ช่วยให้ภาพดูดีได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ถ่ายมุมเงยเพื่อเล่นกับแสงไฟ

       หากมีโอกาสได้เข้าไปถ่ายใกล้กับเวทีแสดง ลองแหงนกล้องขึ้นถ่ายมุมเงยดูบ้าง ในทุกเวทีคอนเสิร์ตต้องมีแผงไฟที่ตั้งตั้งอยู่ด้านบนเสมอ การก้มตัวลงแล้วเงยกล้องขึ้นจะทำให้คุณสามารถดึงเอาแสงสีของดวงไฟเข้ามาประกอบในภาพได้ จะใช้วิธีนี้เสมอเพื่อไม่ให้ภาพจืดชืดหรือมีแต่แบ็คกราวน์ดำมืด ข้อควรระวังคือ ไม่ควรก้มลงต่ำเกินไปหากว่าศิลปินที่กำลังแสดงเป็นผู้หญิงและนุ่งกระโปรงสั้น ระวังคนอื่นจะเข้าใจผิดคิดว่าคุณเป็นพวกโรคจิต ไม่ควรใช้เลนส์จำพวกซุปเปอร์ไวด์เข้าไปถ่ายในระยะประชิดแล้วเงยกล้องมากๆ สัดส่วนที่ผิดเพี้ยนเกินเหตุจะทำให้ภาพลู่เอียงและตัวศิลปินกลายเป็นมนุษย์ประหลาดขาใหญ่หัวลีบ



จับจังหวะให้ทันเหตุการณ์


      ช่างภาพที่ดีต้องเป็นคนช่างสังเกต ต้องเป็นพวงที่มือไวพอๆ กับสายตา ระหว่างที่เราเล็งภาพผ่านช่องมอง สายตาเราต้องทำงานหลายอย่าง ไม่เพียงต้องมองหามุมภาพองค์ประกอบที่สวยงามเท่านั้น ยังต้องคอยสังเกตสิ่งต่างๆ ที่กำลังดำเนินไปภายในกรอบที่ต้องการ เมื่อมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด นอกจากตาต้องไวแล้วนิ้วก็ต้องพร้อมจะลั่นชัตเตอร์ได้ทุกเมื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพ CONCERT ตอนที่ 6

ระบบวัดแสง

       ระบบวัดแสงเฉพาะจุดดูจะเหมาะสมกับการถ่ายภาพคอนเสิร์ตมากที่สุด ด้วยสภาพแสงที่เน้นตัวศิลปินเป็นหลัก จนบางครั้งฉากหลังหรือพื้นที่ส่วนอื่นถูกปล่อยให้อยู่ในความมืด ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยจะให้ค่าที่โอเวอร์และหลอกให้เราใช้ความเร็วชัดเตอร์ต่ำกว่าที่ควร นอกจากทำให้ภาพได้รับแสงมากเกินแล้วยังทำให้เราเสี่ยงต่อการได้ภาพที่ไม่คมชัดด้วย แนะนำให้ใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุดเน้นค่าแสงไปที่ตัวศิลปินด้วยการซูมภาพให้ใกล้เข้ามาแล้วเล็งตำแหน่งไปที่ใบหน้า จะไม่วัดแสงอยู่ตลอดเวลา แต่จะวัดค่าแสงหลักและปรับตั้งกล้องไปตามช่วงจังหวะของแสง อย่างเช่น ในช่วงที่มีการเปิดไฟฟอลโลว์ที่ตัวศิลปิน ควรวัดแสงแล้วใช้ค่านี้ไปตลอดขณะถ่ายจะคอยสังเกตไปด้วยเมื่อมีการเปลี่ยนรูปแบบการให้แสงอย่างเช่น ช่วงไฮไลท์ของเพลงหรือช่วงที่เป็นเพลงจังหวะสนุกที่มักเปิดแสงสีมากเป็นพิเศษ ควรจะวัดแสงใหม่และใช้ค่านี้ไปจนจบช่วง วิธีนี้ทำให้ไม่ต้องคอยพะวงกับการวัดแสงอยู่ตลอดและมีเวลามากพอที่จะให้ความสำคัญกับการโฟกัสภาพและจัดองค์ประกอบ



       ถ้ากล้องที่คุณใช้ไม่มีระบบวัดแสงแบบจุดก็ไม่ต้องคิดมาก ใช้แบบเฉลี่ยที่เน้นบริเวณจุดโฟกัสแล้วลองถ่ายทดสอบดูในช่วงแรก ตรวจสอบภาพที่ได้บนจอ LCD และปรับแก้ให้ได้ค่าที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้ค่านั้นเป็นหลัก คอยสังเกตและปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแสงแต่ละช่วง แต่ไม่ต้องถึงกับต้องวัดแสงตลอดทุกภาพ แบ่งเวลาไปเหนื่อยกับการโฟกัสภาพและหามุมงามๆ ดีกว่า

หน้าเวทีใช้ว่าจะดีเสมอไป

      ทำเลทองที่ช่างภาพคอนเสิร์ตส่วนใหญ่แย่งกันจับจองมักจะเป็นด้านหน้าเวที มันช่วยให้ช่างภาพที่ขี้เกียจเดินไปมาสามารถเก็บภาพได้อย่างไม่ต้องเหนื่อย ไม่ว่าตัวศิลปินจะอยู่ตำแหน่งไหน หากคุณอยู่บริเวณด้านหน้าของเวทีก็สามารถเก็บภาพได้ด้วยการหันกล้องตาม แต่มีดีก็ต้องมีเสีย ปัญหาของมุมหน้าเวทีที่ต้องพบอยู่เสมอนั้นคือมือที่ถือไมค์ของนักร้องมักจะบังหน้าตัวเอง รวมไปถึงเงาที่พาดตกบริเวณปาก คาง และคอ มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทางเดียวที่ทำได้คือต้องรอจังหวะที่นักร้องเอียงหน้าหรือหันข้าง