วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพ CONCERT ตอนที่ 5

ไวท์บาลานซ์อย่างไรดี

       เป็นเรื่องยากหากจะให้กำหนดว่าควรใช้ระบบไวท์บาลานซ์แบบไหน แสงสีในแต่ละคอนเสิร์ตจะแตกต่างหลากหลายมาก แต่โดยรวมถ้าใช้โหมดออโต้ไวท์บาลานซ์ผิวคนจะออกสีส้มแดงเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคอนเสิร์ต ถ้าตั้งใจถ่ายด้วย RAW File แล้วปรับแต่งภายหลังก็อาจะม่ต้องคิดมาก หรือใช้โหมดออโต้ได้เลย แต่บางงานถ้าต้องมานั่งปรับแก้สีเป็นร้อยภาพก็คงเหนื่อยไม่น้อย ถ้าคิดจะถ่ายด้วยไฟล์ JPEG โดยไม่ต้องมาปรับแต่งอีก คงต้องลองถ่ายในช่วงต้นคอนเสิร์ตแล้วเช็คจากจอ LCD ดูและปรับแต่งให้ได้ค่าที่ถูกใจ โดยผมแนะนำว่าถ้าใช้ค่าไวล์บาลานซ์ในช่วง 3000-4000 องศาเคลวินจะได้สีผิวคนที่ดูเป็นธรรมชาติกว่า แต่จะลดความร้อนแรงของแสงสีโทนเหลืองแดงไปพอสมควร



       อย่าลืมว่าการถ่ายภาพคอนเสิร์ตเป็นการเล่นกับแสงไฟ ฉะนั้นสีสันที่ผิดเพี้ยนไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องเสียหาย บางครั้งกลับเสริมอารมณ์ให้ภาพได้อย่างงดงาม ทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายเป็นหลักว่าต้องการให้ภาพออกมาแนวไหน ในช่วงแรกอาจต้องลองผิดลองถูกบ้างแต่ถ้าคุณให้ความสนใจกับมันอย่างจริงจังก็คงใช้เวลาไม่นานที่จะเรียนรู้

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพ CONCERT ตอนที่ 4

รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO

       สำหรับผมผมแนะนำให้ใช้เลนส์สว่างแต่ไม่แนะนำให้ใช้รูรับแสงกว้างสุด ส่วนใหญ่เมื่อได้ฟังก็มักจะมีคำถามย้อนกลับมาว่าแล้วจะเสียเงินซื้อเลนส์แพงๆ ทำไมถ้าไม่ต้องการใช้รูรับแสงกว้างสุด ขออธิบายอย่างนี้แล้วกันนะครับ เลนส์ที่มีขนาดรูรับแสงกว้างตั้งแต่ F2.8 ขึ้นไปจะให้ภาพที่ใสสว่าง ช่วยให้เซ็นเซอร์โฟกัสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วแม่นยำไม่มีอาการลังเล ส่วนใหญ่มีมอเตอร์ขับเคลื่อนชิ้นเลนส์สำหรับโฟกัสภาพอยู่ในตัว มันจึงได้เปรียบในเรื่องของการโฟกัสภาพ แต่ที่ไม่แนะนำให้ใช้ขนาดรูรับแสงกว้างสุดก็เนื่องจากโอกาสที่ภาพจะหลุดโฟกัสมีสูงมาก ยิ่งถ้าเป็นการถ่ายภาพแบบเน้นเฉพาะที่ตัวศิลปินด้วยช่วงเลนส์เทเลก็ยิ่งมีโอกาศพลาดสูง ถ้าเป็นการจัดถ่ายที่ตัวแบบโพสท่านิ่ง การจะใช้ขนาดรูรับแสงที่ F1.8 หรือ F2.8 ก็ไม่น่ามีปัญหา



       ถ้าคุณเลือกใช้ขนาดรูรับแสงที่แคบลงมาอย่าง F5.6 ช่วงระยะชัดในภาพจะมีมากขึ้น แต่ต้องแลกมาด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำลง หรือค่า ISO สูงขึ้น สำหรับคอนเสิร์ตใหญ่ที่ให้แสงสีเต็มพิกัด ที่รูรับแสง F5.6 ก็ยังพอจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ขนาด 1/125 หรือ 1/250 วินาทีที่ ISO 800-1600 ได้ ถ้าเป็นพวกมินิคอนเสิร์ตที่ประหยัดแสงสีขนาดรูรับแสง F5.6 ดูจะแคบเกินไปเพราะความเร็วชัตเตอร์อาจเหลือต่ำเพียง 1/30 หรือ 1/60 วินาที ซึ่งเสี่ยงต่อการให้ภาพเบลอ แต่ถ้าหากคุณใช้กล้องระดับโปรที่สามารถถ่ายด้วยค่า ISO 3200 แล้วยังให้คุณภาพไฟล์ที่ดีก็ไม่ต้องคิดมากครับ

       ระหว่างการแสดงควรหมั่นสังเกตุรูปแบบการให้แสงในแต่ละช่วงด้วย ซึ่งโดยมากจะอิงกับจังหวะอารมณ์ของเพลง เพลงเศร้าเพลงช้าส่วนใหญ่จะใช้ไฟฟอลโลว์ที่ตัวศิลปินเป็นหลักเสริมด้วยแสงสีสลับไปมาอย่างช้าๆ การโฟกัสภาพและการวัดแสงจะทำได้ง่าย รวมไปถึงมีเวลาจัดองค์ประกอบได้อย่างไม่รีบร้อน แสงสีจะถูกปล่อยอย่างเต็มที่ในช่วงพีคสุดของอารมณ์ ถ้าคุณรู้จักเนื้อเพลงและร้องตามได้ คุณก็พอจะเดาออกว่าเป็นช่วงไหน จังหวะนี้ควรเก็บเกี่ยวภาพให้ได้มากที่สุดเพราะเป็นโอกาศที่เราจะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ได้สูงขึ้น หรือจะเลือกใช้ความไวแสงให้ต่ำลงเพื่อให้ได้คุณภาพไฟล์ที่ดี และที่สำคัญมันเป็นช่วงที่มีสีสันสวยงาม

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพ CONCERT ตอนที่ 3

ใช้เลนส์อะไรดี

       แนะนำว่าควรใช้เลนส์ค่อนข้งสว่างและโฟกัสได้รวดเร็ว ความเห็นส่วนตัวผมให้ความสำคัญกับประเด็นหลังมากกว่า เลนส์สว่างจำพวก F1.4, F1.8 ช่วยให้มองเห็นภาพในช่องมองได้อย่างชัดเจน แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้ามันโฟกัสได้ช้ามาก ส่วนตัวแล้วผมเลือกใช้เลนส์ซูมที่มีขนาดรูรับแสง F2.8 เป็นซูมไวด์ชนาด 17-55mm หนึ่งตัวและเทเลซูมขนาด 70-200mm อีกหนึ่งตัว เลนส์เดี่ยวไวแสงอาจเหมาะกับคอนเสิร์ตที่ศิลปินนั่งหรือยืนร้องอยู่กับที่ แต่ไม่เหมาะกับคอนเสิร์ตร้องเต้นที่ใช้พื้นที่เวทีขนาดใหญ่ มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขนาดทางยาวโฟกัสที่ตายตัวทำให้การจัดองค์ประกอบทำได้ยาก รูรับแสงที่กว้างมากช่วยเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้ไวขึ้น แต่ช่วงโฟกัสเพียงน้อยนิดก็ทำให้มีโอกาศพลาดสูงมากกว่า โดยเฉพาะเมื่อต้องถ่ายร็อคหรือแดนซ์คอนเสิร์ตที่ศิลปินทั้งร้อยทั้งเต้นกระโดดพล่านไปมาทั่วเวที



       เลนส์ซูมไวแสง F2.8 ความสว่างของเลนส์ระดับนี้เพียงพอที่จะทำให้กล้องหาโฟกัสได้รวดเร็วแม่นยำ และการที่ทางยาวโฟกัสปรับเปลี่ยนได้ มันจึงช่วยให้จัดองค์ประกอบได้หลากหลายกว่า แน่นอนว่าเลนส์กลุ่มนี้มีราคาสูงพอควรแต่มันก็ช่วยเพิ่มโอกาศได้ภาพดีดีขึ้นอีกมาก เลนส์ซูม F4 ถ้าเป็นช่วงเลนส์ไวด์ยังถือว่าใช้งานได้ดีมุมภาพที่กว้างช่วยให้การโฟกัสภาพด้วยระบบออโต้ไม่เป็นปัญหามาก แต่ถ้าเป็นเลนส์เทเลซูมอย่าง 70-300 F4-5.6 คุณจะรู้สึกหงุดหงิดกับอาการวืดวาดไปมาของระบบโฟกัส และอาจต้องรอถ่ายในจังหวะที่แสงบนเวลีสว่างมากพอ

       กล้องและเลนส์เพียงตัวเดียวจะให้ความคล่องตัวสูงเมื่อต้องเบียดกับผู้คนจำนวนมาก แต่มันก็ทำให้คุณต้องตัดสินใจว่าควรใช้เลนส์ตัวไหนดี เลนส์เทเลซูมช่วง 70-200mm หรือ 80-200mm ช่วยให้คุณเก็บภาพศิลปินได้อย่างใกล้ชิด จับอารมณ์ภาพได้จะแจ้ง ขณะที่เลนส์ซูมไวด์ช่วง 16-35mm, 17-40mm หรือ 17-55mm เก็บบรรยากาศแสงสีความยิ่งใหญ่ของเวทีคอนเสิร์ตได้ดีกว่า เลนส์ฟิชอายให้มุมมองแปลกน่าตื่นตาตื่นใจแต่ก็เหมาะกับการถ่ายในระยะประชิด ถ้าเลือกไม่ได้และจำเป็นต้องพกเลนส์มากกว่าหนึ่งตัวแนะนำให้ใช้กระเป๋ากล้องแบบคอดเอว หรือซองใส่เลนส์จำพวก Lens Pouch ไม่แนะนำให้สะพายกระเป๋ากล้อง เพราะมันจะเหนี่ยวรั้งทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพ CONCERT ตอนที่ 2

เตรียมอุปกรณ์ใส่กระเป๋ากล้องให้พร้อม

       ในยุคกล้องดิจิตอลทุกวันนี้ ต้องบอกว่าเรื่องอุปกรณ์ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการถ่ายภาพคอนเสิร์ตเราต้องถ่ายในสภาพแสงน้อยเป็นส่วนใหญ่ จึงจำเป็นต้องใช้ความไวแสงสูง ซึ่งโดยมากจะอยู่ในช่วง ISO 800 ขึ้นไป ถึงแม้ว่ากล้องส่วนใหญ่จะสามารถปรับเลือกค่า ISO ได้ แต่ก็ใช้ว่ากล้องทุกตัวจะให้คุณภาพที่ดีเท่ากัน กล้องดิจิตอลบางรุ่นที่ช่วง ISO ขนาดนี้คุณจะได้ของแถมเป็นนอยส์ที่มากเกิน โดยเฉพาะกล้อง DSLR ที่ผลิตมาช่วงก่อนหน้านี้สักสามสี่ปี ถ้าเป็นกล้องประเภท SLR LIKE บางรุ่นก็ไปไกลแล้วครับ โชคดีที่กล้องรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาระยะหลังแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างน่าพอใจ ยิ่งถ้าเป็นกล้อง DSLR กึ่งมืออาชีพขึ้นไปแล้วที่ช่วง ISO สูง ยังให้ไฟล์ภาพที่ดีอย่างน่าพอใจ

       หากงบประมาณไม่ใช้ปัญหา ลองพิจารณาดู CANON รุ่น EOS 6D , EOS 5D MK III หรือ D800 ของ NIKON เพราะมันจะช่วยให้การถ่ายคอนเสิร์ตง่ายดายแทบไม่ต่างจากการถ่ายภาพในตอนกลางวันเลยทีเดียว ที่ความไวแสงระดับ ISO 3200 ของกล้องกลุ่มนี้ให้คุณภาพไฟล์ดีอย่างไม่น่าเชื่อ รวมไปถึงการโฟกัสภาพที่รวดเร็วแม่นยำในสภาพแสงน้อย การถ่ายต่อเนื่องด้วยความเร็วสูง และประสิทธิภาพในการเก็บบันทึกข้อมูลอย่างทันอกทันใจ นั่นเท่ากับคุณมีเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มโอกาศให้ได้ภาพดีๆ มากขึ้นอีกหลายเท่า เข้าทำนองจ่ายอย่างไรก็ได้อย่างนั้น



       แต่ถ่าความจำเป็นของคุณยังไม่ถึงขั้นขนาดนั้น กล้อง DSLR ระดับเริ่มตั้นและระดับกลางก็สามารถถ่ายภาพได้ดีเช่นกัน เพียงแต่ต้องศึกษาและทำความรู้จักกับกล้องที่ใช้ให้ดี เรียนรู้ถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดทั้งหลาย อาจต้องเหนื่อยกว่าหน่อย ใช้ความพยายามมากกว่า แต่มันก็ช่วยให้คุณได้ฝึกทักษะอย่างเต็มที่
 
       อีกคำถามหนึ่งที่มักได้ยินเสมอนั่นคือควรใช้แฟลชในการถ่ายคอนเสิร์ตหรือไม่ ตามมารยาทแล้วไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะนอกจกาแสงแฟลชจะทำลายบรรยากาศของแสงสีในงานคอนเสิร์ตแล้ว มันยังเป็นการรบกวนตัวศิลปินด้วย ลองนึกภาพดูในขณะที่นักร้องกำลังเค้นอารมณ์ร้องเพลงซึ้ง ทุกคนในฮอลล์นิ่งฟังอย่างตั้งใจ บนเวทีมีเพียงแสงไฟฟอลโลว์จับอยู่ที่นักร้อง จู่ๆ ถ้ามีแสงแฟลชแวบออกมา คงไม่เหมาะเท่าไหร่

       ที่ไม่ค่อยซีเรียสเรื่องแฟลชจะเป็นคอนเสิร์ตประเภทร้องเต้นของวัยรุ่นที่มีแสงสีวูบวาบตลอดทั้งเพลง คอนเสิร์ตประเภทนี้มักจะเห็นแฟนเพลงพกกล้องหรือโทรศัพท์เข้าไปถ่ายกันเกลื่อน ถ้าต้องการใช้แฟลชแนะนำให้ใช้เป็นแสงเสริมบางๆ เพื่อรักษาบรรยากาศแสงสีให้ได้มากที่สุด

       ขาตั้งกล้องไม่มีความจำเป็นกับการถ่ายภาพคอนเสิร์ต นอกเสียจากคุณต้องการถ่ายอยู่กับที่นั้งผู้ชมด้วยเลนส์เทเลจากระยะไกล กรณีนี้แนะนำให้เลือกที่นั้งติดกับทางเดินหรือไม่ก็บนอัฒจันทร์เพื่อไม่ให้ติดตัวผู้ชมด้านหน้า หรือหากต้องยืดขาให้สูงขึ้นเล็กน้อยก็ต้องไม่ไปบังผู้ชมท่านอื่นที่อยู่ด้านหลัง

       การ์ดบันทึกภาพควรเตรียม คำนวนเผื่อเหลือไว้ก่อน เพราะหากเจอกับการแสดงที่ตื่นตาจนกดชัตเตอร์เพลิน จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียดายหากว่าการ์ดเต็มก่อนจบการแสดง ถ้าคุณวางแผนจะบันทึกด้วย RAW File คงต้องใช้การ์ดเปลืองสักหน่อย ยิ่งกล้องรุ่นใหม่ที่ให้ภาพความละเอียดสูงความจุการ์ดระดับ 4 GB ดูจะน้อยไปหน่อยสำหรับการถ่ายแบบเต็มคอนเสิร์ต ที่ส่วนใหญ่จะใช้เวลาสองถึงสามชั่วโมง ควรเลือกใช้เมโมรีการ์ดชนิดความเร็วสูงเพราะบางครั้งอาจต้องบันทึกภาพอย่างต่อเนื่องคราวละหลายภาพ

Credit : ร้าน กระเป๋ากล้อง

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพ CONCERT ตอนที่ 1

บทนำ

       การถ่ายภาพคอนเสิร์ตเป็นงานหินอีกประเภทหนึ่งสำหรับคนที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่เพียงแต่แสงวูบวาบจากเวทีที่ทำให้หลายคนลังเลในเรื่องค่าแสง การเคลื่อนที่ไปมาของศิลปินก็ทำให้หนักใจที่จะโฟกัสภาพได้ทัน ยังไม่ต้องพูดถึงแสงสีที่หลากหลายจนไม่รู้จะเลือกโหมดไวท์แบลานซ์แบบไหนดี ถ้าหากมันเป็นครั้งแรกของคุณก็คงไม่แปลกที่จะต้องรู้สึกเป็นกังวล ลองอ่านบทความนี้ดูเผื่อจะช่วยให้คุณตระเตรียมความพร้อมก่อนลงสนามจริง หรืออย่างน้อยก็ช่วยให้คุณพอจะเห็นปัญหาที่รออยู่เบื้องหน้าว่าต้องเจอะเจออะไรบ้าง





กฏ กติกา มารยาท

       ก่อนจะถ่ายภาพคอนเสิร์ตเราควรต้องรู้ถึงกฏกติกาของผู้จัดงานให้ดีเสียก่อน ไม่ใช่ว่าคุณจะสามารถถือกล้องเดินดุ่มๆเข้าไปถ่ายได้ในทุกงาน สำหรับคอนเสิร์ตของศิลปินต่างชาติให้ทำใจได้เลยครับ ส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ ไม่ให้นำกล้องถ่ายภาพหรือกล้องวิดีโอเข้าในงานอย่างเด็ดขาด ก่อนเข้าจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจ หากพบกล้องก็จะให้ฝากไว้ เมื่อคอนเสิร์ตเลิกจึงค่อยมารับคืน จะยกเว้นเฉพาะช่างภาพสื่อฯ หรือนักข่าวที่ได้รับอนุญาต แต่ก็ให้บันทึกได้แค่ช่วงสามเพลงแรกเท่านั้น ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเขาเข้มงวดเรื่องลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะการ์ดของทีมงานชาวต่างชาติจะเข้มงวดมาก
     
       สำหรับคอนเสิร์ตของศิลปินคนไทยจะไม่ค่อยเข้มงวดเรื่องการถ่ายภาพเท่าไหร่ ส่วนใหญ่อนุญาตให้นำกล้องเข้าไปได้ แต่ถ้าคุณเป็นเพียงผู้ชมที่ซื้อบัตรเข้าไป หากเป็นคอนเสิร์ตที่มีการจัดการดี คุณจะถูกจำกัดอยู่ตามตำแหน่งของบัตร ทางที่ดีควรดูแผนผังเวทีและการแบ่งโซนผู้ชมเสียตั้งแต่ตอนจองบัตรล่วงหน้า เพื่อจะได้เตรียมอุปกรณ์อย่างเหมาะสม หากเลือกได้ควรจองบัตรที่ใกล้เวทีไว้ก่อนไม่จำเป็นต้องเป็นบัตรนั้ง โซนสำหรับยืนบริเวณรอบเวทีจะเหมาะกว่าเพราะคุณสามารถเดินไปมาเพื่อหาตำแหน่งได้ แต่อาจต้องเบียดเสียดกับผู้ชมจำนวนมาก แนะนำให้ไปถึงหน้างานก่อนเวลาพอสมควร ให้มั่นใจว่าเดินเข้าไปเป็นคนแรกๆ เพื่อให้อยู่แถวหน้าของผู้ชม คงไม่ดีแน่ถ้าต้องไปยืนแทรกอยู่ในหมู่คนดู เพราะคุณต้องถ่ายภาพผ่านหัวของผู้คนเหล่านั้น ยิ่งบางช่วงที่มีการชูมือชูป้ายกัน คุณคงพอนึกภาพออกว่ามันจะเลวร้ายขนาดไหน

       ในบางคอนเสิร์ตที่ไม่เข้มงวดมาคุณอาจเดินไปมาเพื่อหามุมถ่ายภาพได้ แต่หากต้องยืนถ่ายแนะนำให้อยู่แถวช่องทางเดินเพื่อหลีกเลี่ยงการยืนบังผู้ชมท่านอื่นที่นั่งชมอยู่ โดยเฉพาะที่นั่งบริเวณโซนกลางด้านหน้าเวที ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นที่นั่งของบัตรราคาแพงสามสี่พันบาท เขาคงต้องคาดหวังจะได้ชมศิลปินอย่างใกล้ชิดถนัดตา แต่ถ้ามีไอ้บ้าที่ไหนไม่รู้มายืนถือกล้องบังอยู่ด้านหน้า เป็นใครก็คงไม่แฮปปี้


Credit : ร้าน Kapaowklong

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีผูกสายคล้องกล้องทั่วๆไป

วิธีการผูกสายคล้องกล้องทั่วๆไป เช่น สายที่แถมมากับกล้องหรือสายกล้องอื่นๆที่เราซื้อมาโดยมีรูปลักษณะเหมือนกัน มีวิธีการผูกเข้ากับตัวกล้องดังนี้



Credit : ร้าน Kapaowklong

เตรียมตัวก่อนสะพายกล้องลุยหน้าฝน

1. พยายามอย่าให้กล้องเปียกน้ำ
       ข้อนี้นักถ่ายภาพคงจะเข้าใจกันดีอยู่แล้ว และหาทางหลีกเลี่ยงแต่เมื่อจำเป็นที่จะต้องถ่ายภาพกันในช่วงหน้าฝน วิธีเบื่องต้นที่ง่ายที่สุดในการป้องกัน คือ ถ้าเป็นกล้องคอมแพคก็ใช้ซองพลาสติกันน้ำ หรือถ้าเป็นกล้อง DSLR ก็จะมีถุงสำหรับกล้องระดับนี้โดยเฉพาะ


2. พกผ้าติดกระเป๋ากล้อง
       ผ้าเช็ดกล้องเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีติดกระเป๋ากล้องเอาไว้เลย เลือกผ้าเช็ดกล้องที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับกล้อง เพราะผ้าชนิดนี้มีเนื้อผ้าที่นุ่มและไม่จำให้เกิดริ้วรอย ใช้ผ้าเช็ดทุกครั้งก่อนใส่กล้องลงกระเป๋ากล้อง พยายามอย่าให้เกิดความชื้นขึ้นบนตัวกล้องหรืออุปกรณ์


3. เลือกกระเป๋ากล้องที่ทำจากวัสดุกันน้ำ
       ถ้าใช้งานปกติ กระเป๋ากล้องที่มีคุณภาพสูงซักหน่อย ก็มักจะใช้เนื้อผ้าที่ทอละเอียด หรือมีคุณสมบัติกันน้ำได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยมากขี้นอีก ก็ควรเลือกกระเป๋ากล้องที่มีซิบกันน้ำ หรือ Rain Cover มาให้ด้วยก็จะยิ่งอุ่นใจขี้นไปอีก


4. ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน
       ควรทำความสะอาดกล้องและอุปกรณ์ทุกครั้งหลังใช้งาน อย่าให้มีหยุดน้ำ, ละอองน้ำ หรือฝุ่นหลงเหลืออยู่ และวางอุปกรณ์ไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเถได้ดี โดยให้กล้องแห้งสนิทก่อนเก็บใส่กล้องหรือตู้กันความชื้น อย่าเก็บกล้องไว้ในกระเป๋ากล้อง เนื่องจากฤดูฝนจะมีความชื้นในอากาศสูง กระเป๋ากล้องจะเป็นแหล่งซึมซับความชื่นอย่างดี ซึ่งเป็นต้นเหตุของฝ้าและราได้


5. เก็บกล้องให้เหมาะสม
       ทำความสะอาดอยู่ตั้งนาน ถ้าไม่มีเก็บกล้องหรืออุปกรณ์ดีดี ที่ทำมาทั้งหมดคงจะสูญปล่าว ควรนำกล้องและอุปกรณ์เก็บในกล่องหรือตู้กันความชื้น ในความชื้นสัมพัทธ์ที่ 40-45 %RH หรือถ้าไม่มีก็สามารถเก็บไว้ในกล่องพลาสติก ใส่ silica gel ลงไปในปริมาณที่เหมาะสมกับกล้องและอุปกรณ์ ก่อนปิดผาให้สนิท



Credits : ร้าน Kapaowklong

วิธีการเลือกซื้อกระเป๋ากล้องให้เหมาะสม

วิธีการเลือกซื้อกระเป๋ากล้องที่เหมาะสมกับกล้องและอุปกรณ์ของเรา
     
       ในการพกพากล้องและเลนส์คู้ใจของเราออกไปข้างนอกก็จำเป็นที่จะต้องมีกระเป๋ากล้อง เพราะ กล้องที่เราซื้อมานั้นราคาไม่ใช้ถูกๆ ฉะนั้นสิ่งที่จะพกพาและป้องกันกล้องและเลนส์ของคุณก็คือกระเป๋ากล้อง นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการหยิบกล้องและอุปกรณ์ออกมาใช้งาน

       กระเป๋ากล้องจึงนับเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ที่จะช่วยปกป้องกล้องและอุปกรณ์สุดรักของคุณ ไม่ให้กระแทก แตก หรือเปียกน้ำ แต่กระเป๋ากล้องในตลาดตอนนี้ก็มีให้เลือกมากมายหลายแบบ จะมีวิธีได้ในการเลือกใช้งานเราลองมาดูกันครับ

ลักษณะของกระเป๋ากล้อง

1. สะพายข้าง เป็นประเภทที่มีผู้ใช้มากที่สุด เพราะการพกพาสะดวก หยิบจับกล้องและอุปกรณ์ได้ง่าย เพราะกระเป๋าจะอยู่ตำแหน่งข้างลำตัว ในบ้างยี่ห้อบางรุ่นจะมีสายเล็กๆ ไว้สำหรับคาดเอวเพื่อไม่ให้กระเป๋าแกว่งและแนบอยู่กับลำตัว กระเป๋าแบบสะพายข้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการพกกล้องออกท่องเที่ยวในเมือง ระยะทางในการเดินทางไม่ไกลมาก และผู้ที่ชอบหยิบของออกจากกระเป๋าบ่อยๆ


2. เป้สะพายหลัง ลักษณะเป็นเป้สะพายด้านหลัง สามาถแบกน้ำหนักได้มาก ในกระเป๋ากล้องที่ดีนั้น จะมีแผ่นซับน้ำหนักตรงสายสะพายเพื่อที่จะทำให้ไหล่และหลังของเราสบายและผ่อนน้ำหนังลงไปได้มาก เหมาะสำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์เยอะ และชื่นชอบที่จะแบกอุปกรณ์ทั้งหลายตัวติดตัวไปด้วย กระเป๋าแบบนี้จะทำให้เราแบบกล้องไปได้อย่างสะบาย เรียกว่าเดินกันตัวปลิวเลยทีเดียว




3. กระเป๋าคาดเอว ลักษณะจะคาดไว้ที่เอวของเรา ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก แต่กระเป๋าแบบนี้สะดวกมากเวลาใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบหยิบของบ่อยๆ ชอบถ่ายภาพในสถานที่คับแคบต้องการความคล่องตัวสูง ส่วนใหญ่จะเหมาะเป็นกระเป๋าสำรองอีกใบมากกว่า



4. กระเป๋าแบบผสม ถือว่าเป็นกระเป๋าแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมพอสำควรเลยทีเดียว มีการออกแบบให้เหมาะสมใสการผกพาและการใช้งาน สามารถหยิบกล้องออกได้ทันทีที่ต้องการ พกพากล้องและเลนส์ 1-2 ตัวพร้อมอุปกรณ์อื่นๆอีกได้อย่างสบายๆ กระเป๋าสามารถเปิดจากด้านข้างเพื่อหยิบกล้องได้อย่างสะดวก



การจัดกระเป๋าภายใน

 1. การแบ่งสัดส่วนให้ลงตัว จากพาติชั่นต่างที่มีของกระเป๋า ดูว่ากระเป่ามีช่องใส่อะไรบ้างแล้วเราจะมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

2. ถ้าเราแบ่งกระเป๋าไว้สามส่วนหลักๆ ให้ใส่อุปกรณ์ในช่องด้านข้างก่อน เพราะว่ากระเป๋าด้านข้างสามารถยึดได้อีกเล็กน้อยแล้วจึงใส่ของตรงกลางลงไป

3. ให้ใส่อุปกรณ์ชิ้นที่มีขนาดใหญ่ลงไปก่อน แล้วค่อยตามด้วยอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กลดหลั่นลงไป ควรนำกล้องและอุปกรณ์หลักๆ เช่น กล้อง เลนส์ และแฟลช จัดวางลงในกระเป๋าให้เรียนร้อยก่อน จากนั้นจึงตามด้วยอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ลูกยางเป่าลม, แบตเตอรี่, อุปกรณ์ชาร์ตไฟ

4. ซิบกระเป๋าถ้ามีสองอันแนะนำให้รูดปิดไปในทางเดียวกัน ไม่ควรรูดมาชนกันตรงกลาง เพราะเวลาเราเดินหรือสะพายกล้อง ซิบอาจจะคลายและไหลลงมาเองได้

5. อย่าให้กระเป๋าโดนน้ำบ่อยๆ ถ้าเจอฝนตกหรือน้ำให้คลุมกระเป๋าด้วยพลาสติกที่มีมาให้ในกระเป๋า หรือถ้าไม่มีควรพกถุงพลาสติดขนาดที่สามารถคลุมกระเป๋าเราได้ ถ้ากระเป๋าเปียกน้ำกลับมา ให้รีบนำอุปกรณ์ออก แล้วนำกระเป๋าไปผึ่งลมให้แห้ง ถ้ากระเป๋าสกปรกให้ทำความนี้ วิธีดูแลทำความสะอาดกระเป๋า


Credits : ร้าน Kapaowklong

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การดูแลทำความสะอาดกระเป๋ากล้อง


วิธีทำความสะอาด

วัสดุส่วนใหญ่ที่นำมาทำกระเป๋ากล้องก็มีหลักๆ คือ

1. หนังสังเคราะห์ (PU)
       กระเป๋าที่ทำจากหนังสังเคราะห์จะคืนตัวและมีความยีดหยุ่นน้อยกว่าที่ทำจากหนังแท้ วิธีการดูแลหนังสังเคราะห์ คือใช้ผ้าหมาดๆ ค่อยๆเช็ดทำความสะอาด ไม่ควรนำกระเป๋าไปแช่ทั้งใบ หลังจากเช็ดทำความสะอาดแล้ว ให้ใช้ผ้าอีกผืนเปียกหมาดเช็ดอีกครั้งหนึ่ง แล้วนำไปตากลมไว้จนแห้ง
       ข้อห้าม คือ อย่านำไปตากแดดโดยเด็ดขาด และไม่ควรใช้น้ำยาชัดเคลือบใดๆทั้งสิ้น เพราะจะทำให้สารที่เคลือบหนังสังเคราะห์เสียสภาพได้

2. ผ้าใบ (CANVAS)
       กระเป๋าที่ทำจากผ้าใบ ในกรณีที่สกปรกไม่มาก ให้หยดน้ำบริเวณที่เปื้อนใช้สบู่ถูถู แล้วใช้แปลงสีฟันขัดบริเวณที่ต้องการทำความสะอาดแล้วล้างน้ำออกตากให้แห้ง
       ในกรณีที่จำเป็นจะต้องซักทั้งใบ ให้แช่ในน้ำผสมสบู่ประมาณ 10-20 นาที ไม่ควรแช่นานเกินไป แล้วใช้แปลงขนอ่อนซัก เน้นบริเวณที่เลอะ
       ข้อห้าม คือ ไม่ควรนำไปซักในเครื่องซักผ้า เพราะจะทำให้กระเป๋าเสียรูปทรงได้


วิธีเก็บรักษากระเป๋า

1. ควรเก็บกระเป๋าไว้ในถุงผ้า สำหรับเก็บกระเป๋าโดยเฉพาะ เพราะถุงแบบนี้จะมีข้อดี คือ ลมสามารถผ่านได้พอประมาณและกันฝุ่นได้
2. อย่าเก็บกระเป๋าไว้ในถุงพลาสติก โดยเฉพาะที่ทำจากหนัง เพราะอากาศที่ร้อนจะทำให้กระเป๋ากรอบได้
3. นำกระเป๋าออกมาจากที่เก็บบ้าง โดยตั้งไว้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเถสดวก ให้ได้สัมผัสกับอากาศ สิ่งสำคัญ คือ ให้วางไว้ในที่ร่มไม่ตากแดด
4. การรักษารูปทรงของกระเป๋าทำได้โดย หากระดาษมายัดใส่กระเป๋าไว้ด้านใน ก็จะทำให้กระเป๋าอยู๋ทรงได้

Credits : ร้าน Kapaowklong

การเก็บรักษากล้องและเลนส์ตัวโปรด

วิธีกการเก็บรักษากล้องและเลนส์

       หากเราต้องนำกล้องไปตามสถานที่ต่างๆ ที่มีความชื้นสูง อะทิเช่น ป่าเขา น้ำตก บนยอดดอยสูง เมื่อเราใช้เสร็จควรที่จะทำให้กล้องและเลนส์นั้นแห้งซะก่อนที่จะเก็บเข้ากระเป๋ากล้อง
      โดยวิธีง่ายที่จะทำให้กล้องและเลนส์ของเรานั้นแห้ง คือ การนำเอาออกมาถูกแสงแดดประมาณ 1-2 ชม. เพื่อให้แสงแดดทำการไล่ความชื้นที่อยู่ภายในกล้องและเลนส์ให้ระเหยออกมา แต่ก็ไม่ควรที่ให้ตากแดดนานเกินไปเพราะจะทำให้ชิ้นส่วนที่เป็นยางแห้งกรอบและเสื่อมสภาพลงในที่สุด

การเก็บรักษากล้องและเลนส์ในกล่องกันความชื้น


- ควรถอดแบตเตอรี่ออกก่อนเก็บ
- ควรใช้กล่องกันความชื้นที่มีสารดูดความชื้นหรือเครื่องดูดความชื้น เพื่อป้องกันความชื้นภายในกล่อง ค่าความชื้นที่เหมาะสมสำหรับกล้องและเลนส์อยู่ในช่วงความชื้นสัมพัทธ์ 40-45 %RH เพื่อป้องกันเชื้อราขึ้นเลนส์และไม่ให้ยางแห้งกรอบหมดสภาพ
- นำกล้องและเลนส์ออกมาใช้งานบ้าง อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
- หมั่นสังเกตุสารดูดความชื้นว่าเปลี่ยนสีหรือไม่ ถ้าใช้ควรนำออกมาตากแดดเพื่อใล่ความชื้นออก

หลักการทำงานของกล่องกันความชื้น
- นำสารดูดความชื้นหรือตัวดูดความชื้นไฟฟ้า ไปไว้ในกล่องกันความชื้น
- กล่องถูกออกแบบมาเพื่อกันความชื้นเข้ามายังภายใน ควรจะมีไฮโกรมิเตอร์เพื่อใช้แสดงความชื้นภายใน


- หากสารดูดความชื้นหรือตัวดูดความชื้นเริ่มเปลี่ยนสี แสดงว่าประสิทธิภาพในการการดูดความชื้นจะลดลงให้นำไปตากแดดหรือเสียบปลั๊กไฟเพื่อใล่ความชื้นออกแล้วนำกลับไปใส่ที่เดิม